รีโนเวท บ้านชั้นเดียว

รีโนเวท บ้านชั้นเดียว

รีโนเวท บ้านชั้นเดียว

รีโนเวท บ้านชั้นเดียว

รีโนเวท บ้านชั้นเดียว ก่อนลงมือรีโนเวทบ้าน ต้องเข้าใจและรู้เรื่องรีโนเวทบ้าน ตั้งแต่ความหมายของการรีโนเวทว่ามีความหมายอย่างไร ความหมายตรงตัวของคำว่ารีโนเวท (Renovate) คือ ‘บูรณะ’ เป็นการซ่อมแซม ทำใหม่ ปรับปรุงใหม่แบบยกเครื่อง หรือทำให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม คลิ๊กที่นี่

มักจะมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง หรือมีกลิ่นอายของแบบเดิมอยู่บ้าง โดยอาศัยการปรับปรุงซ่อมแซมจากโครงสร้างเดิมของบ้านที่มีอยู่ เพื่อให้บ้านที่หมดสภาพและขาดกการดูแลมาเป็นระยะเวลานาน เปลี่ยนโฉมใหม่ให้สวยงามน่าอยู่ และสามารถอยู่อาศัยได้อีกนาน

ทำไมจึงควรรีโนเวทบ้านชั้นเดียว

เมื่อรู้เรื่องรีโนเวทบ้านแล้วก็มาถึงเหตุผลว่าทำไมถึงควรรีโนเวทบ้าน โดยเฉพาะบ้านชั้นเดียว ที่จริงแล้วบ้านชั้นเดียวเป็นรูปแบบที่อยู่อาศัยที่มักเห็นได้ทั่วไปทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และมักนิยมมากในต่างจังหวัด ซึ่งเหตุผลหลักที่ต้องรีโนเวทบ้านชั้นเดียวนั้นมีดังนี้

1. ยืดอายุของบ้านให้นานขึ้น

บ้านทุกหลังล้วนประกอบไปด้วยโครงสร้างที่มีอายุการใช้งาน สำหรับบ้านที่มีอายุเก่าและขาดการซ่อมแซมดูแลอย่างสม่ำเสมอ โครงสร้างภายในบ้านบางส่วนจะมีความทรุดโทรม ซึ่งหมายถึงความไม่ปลอดภัยและความไม่สวยงามในการอยู่อาศัย การรีโนทเวทบ้านชั้นเดียวจึงเป็นการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ เพื่อยืดอายุบ้านให้นานขึ้น


รีโนเวทบ้าน

2. ความต้องการพื้นที่ใช้สอยที่เปลี่ยนไป

สำหรับบ้านชั้นเดียวที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก มักจะมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน ดังนั้นเมื่อฟังก์ชันและพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน ไม่สอดคล้องกับความต้องการใช้งานในปัจจุบัน หลายคนเลือกวิธีรีโนเวทบ้านชั้นเดียวใหม่ เพื่อจัดแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านใหม่ให้เหมาะกับการอยู่อาศัยมากขึ้น

3. เพื่อสุขอนามัยในการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น

บริเวณมุมอับของบ้าน มักแฝงไปด้วยสิ่งสกปรกที่หลุดรอดสายตา ไม่ว่าจะเป็น ภายในห้องน้ำ บริเวณบนฝ้าเพดาน บริเวณงานระบบในครัว ปล่องท่อ หรือตามพื้นที่อับชื้นต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยได้รับการทำความสะอาด ทำให้เชื้อโรคสะสมและทำความสะอาดได้ยาก การรีโนเวทบ้านชั้นเดียวจึงช่วยให้มุมอับต่าง ๆ เหล่านี้หายไป

4. เพื่อเพิ่มความปลอดภัยภายในตัวบ้าน

การรีโนเวทบ้าน ก็เป็นเหมือนการเพิ่มยาบำรุงสมรรถนะ ทำให้บ้านมีกำลังที่แข็งแรงมากขึ้น ดังนั้นการรีโนเวทบ้านจึงเป็นยาชั้นดี ที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอใหม่ เพื่อให้พร้อมสำหรับการอยู่อาศัยและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน

เตรียมตัวก่อนรีโนเวทบ้านชั้นเดียว ต้องทำอะไรบ้าง


รีโนเวทบ้าน

เมือรู้เรื่องรีโนเวทบ้านแล้ว มาถึงขั้นตอนการเตรียมตัว สำหรับการรีโนเวทบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการรีโนเวทบ้านชั้นเดียวหรือกี่ชั้นก็ตาม ก็มีสิ่งที่ต้องเตรียมตัวคล้าย ๆ กัน และถ้าหากคุณอยากจะรีโนเวทบ้านให้ได้บ้านใหม่ที่มั่นคงแข็งแรง งบประมาณไม่บานปลาย ควรตรวจสอบทุกสิ่งเหล่านี้ให้ดี

1. ตรวจสอบกฎหมายให้ถี่ถ้วนก่อน

ข้อสำคัญที่ควรรู้เรื่องรีโนเวทบ้าน และเป็นข้อที่หลายคนที่จะคิดจะรีโนเวทบ้านมักมองข้ามไป คือการกลับมาทบทวนกฎหมายให้ดีก่อน เนื่องจากการต่อเติมหรือรีโนเวทก็นับเป็นการดัดแปลงอาคาร ดังนั้นควรตรวจสอบก่อนว่าบ้านของเราเข้าเงื่อนไขของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง อะไรที่ห้ามทำเด็ดขาด

โดยหากพิจารณาถึงเงื่อนไขแล้วพบว่า แผนการรีโนเวทของเราเข้าข่ายข้อห้าม ควรปรึกษากับเจ้าหน้าที่โยธาจังหวัดหรือเทศบาลที่สังกัดอยู่ก่อนทำการรีโนเวทบ้านการดัดแปลง หรือต่อเติมอาคาร จะต้องขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสมอ ยกเว้น 5 กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาต

2. ถามตัวเองให้ชัดว่าต้องการรีโนเวทเพื่ออะไร

หลายคนมักมีความเข้าใจผิดว่า การรีโนเวทบ้านชั้นเดียวนั้น ใช้งบประมาณน้อยกว่าการซื้อบ้านใหม่ ซึ่งต้องบอกว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงครึ่งเดียว เนื่องจากการรีโนเวทที่ไม่มีการวางแผนและตั้งโจทย์ให้ชัด มักตามมาด้วยปัญหางบประมาณบานปลาย

ดังนั้นก่อนเริ่มวางแผนการรีโนเวท ควรทบทวนตัวเองอีกครั้งว่า เราต้องการรีโนเวทเพื่ออะไร? เพื่อปรับปรุงโครงสร้างบ้าน เพื่อปรับพื้นที่ใช้สอยใหม่ หรือเพื่อบ้านใหม่ในฝัน ซึ่งการตั้งโจทย์ให้ชัด จะทำให้เราสามารถคาดการณ์งบประมาณของการรีโนเวทเบื้องต้นได้

3. ตรวจสอบสภาพบ้านและโครงสร้างปัจจุบัน


รีโนเวทบ้าน

หลังจากตอบโจทย์ตัวเองจนแน่ชัดแล้ว ก็มาเริ่มเดินสำรวจสภาพบ้านของเราในปัจจุบันกันก่อน ว่ามีสภาพชำรุดตรงส่วนไหน โครงสร้างหลักของบ้านมีสภาพเป็นอย่างไร และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญควบคู่กันไปด้วย

เนื่องจากอาคารเก่ามักจะมีปัญหาของระบบโครงสร้างที่ซ่อนไว้ ไม่ว่าจะเป็น เหล็กเส้นในเกิดสนิม เสาคานปริแตก หรือ ผนังรับน้ำหนักร้าว เป็นต้น ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้ควรได้รับการปรับปรุงให้แข็งแรงเป็นอันดับแรก

4. ตรวจสอบงานระบบ

หากร่างกายมีเส้นเลือดไว้คอยสูบฉีด บ้านก็มีงานระบบไว้คอยหล่อเลี้ยงเช่นกัน โดยงานระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ และระบบอื่น ๆ คือสิ่งสำคัญที่ห้ามละเลยในการตรวจสอบอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะอาคารเก่าที่มีอายุมากกว่า 10 ปี มักจะมาพร้อมกับระบบที่มีความทรุดโทรม

อยากรีโนเวทบ้านชั้นเดียวด้วยตัวเอง ต้องทำอย่างไร


รีโนเวทบ้าน

หลายคนอาจเกิดคำถามในใจว่า ถ้าอยากรีโนเวทบ้านด้วยตัวเองล่ะ จะทำได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ได้แน่นอน ถ้าหากรายละเอียดของการรีโนเวทบ้านของคุณนั้น เป็นแค่การทาสีผนังใหม่ ปูพื้นไวนิลหรือลามิเนต เปลี่ยนบานประตู-หน้าต่าง ที่ไม่ไปยุ่งกับตัวโครงสร้างและงานระบบ ซึ่งหมายถึง บ้านของคุณจะต้องมีสภาพดีพอสมควร

แต่ถ้าหากว่าบ้านของคุณมีสภาพที่ชวนให้ท้อใจ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือว่าจ้างผู้รับเหมา เพื่อความปลอดภัยในโครงสร้าง และความอุ่นใจที่จะอยู่อาศัยในบ้านหลังนี้ไปอีกนาน

เรื่องที่ต้องรู้สำหรับการว่าจ้างผู้รับเหมา

– เช็กประวัติและผลงาน ผู้รับเหมาควรมีผลงานที่น่าเชื่อถือ มีทีมงานพร้อม ไม่มีประวัติเสียหาย มีผลงานปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน

– ความพร้อมในการรับงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้รับเหมาที่มีประวัติที่ดี แต่หากมีงานล้นมือ ก็มีความเสี่ยงที่จะให้ความใส่ใจงานน้อยลง รวมไปถึงโอกาสของความไม่พร้อมของทีมงาน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาความล่าช้า งบประมาณบานปลาย

– ราคาสมเหตุสมผล แพงไปใช่ว่า ถูกกว่าก็ไม่ดี เพราะฉะนั้นควรพิจารณาผู้รับเหมาที่เสนอราคากลาง ๆ สมเหตุสมผลตามขอบเขตงานและวัสดุที่ต้องใช้

– สัญญาสำคัญ ห้ามละเลยเด็ดขาด การทำสัญญาว่าจ้างคือสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเป็นสิ่งผูกพันทางกฎหมายระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง โดยรายละเอียดของสัญญา ควรมีข้อมูลสถานที่และรูปแบบอาคารก่อสร้าง วันเดือนปีที่ทำสัญญา ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน รายการวัสดุ รายละเอียดราคาที่เบิกจ่ายในแต่ละงวด เงื่อนไขการเบิกจ่ายและส่งมอบงาน พร้อมทั้งกำหนดค่าปรับหากทำงานล่าช้า เป็นต้นการรีโนเวทบ้าน เป็นเหมือนบันไดอีกขึ้นที่ช่วยให้เราได้ปีนเข้าใกล้บ้านในฝันได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ต้องการรักษาสภาพบ้านหลังเดิมไว้ หรือชอบในทำเลของบ้าน แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เพราะมีรายละเอียด และขั้นตอนแตกต่างจากการซื้อบ้านพร้อมอยู่ ดังนั้นคนที่รักในการรีโนเวทบ้าน จึงควรต้องศึกษา รู้เรื่องรีโนเวท และเตรียมตัวอย่างรอบคอบที่สุด

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนรีโนเวทบ้าน


รีโนเวทบ้าน

การรีโนเวทบ้านแต่ละครั้ง ไม่ใช่ว่าแค่คิดแล้วลงมือทำก็จะสำเร็จ แต่มันต้องผ่านหลายขั้นตอนมากๆ กว่าจะเป็นรูปเป็นร่างที่สมบูรณ์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะยากเกินความสามารถของเรา เพราะต่อให้มีขั้นตอนที่จุกจิกอยู่บ้าง แต่ถ้าวันหนึ่งขั้นตอนทุกอย่างถูกจัดการจนเสร็จเรียบร้อย ภาพของบ้านในฝัน ก็จะไม่ไกลเกินเอื้อมกันอีกต่อไป ซึ่งขั้นตอนก่อนที่เราจะรีโนเวทบ้านได้นั้น จะเริ่มกันตั้งแต่…

• ศึกษาข้อกฏหมาย

ก่อนจะวางแผนไปไกล อันดับแรกเราต้องศึกษาข้อกฏหมายกันให้แม่นยำซะก่อน สำหรับการรีโนเวทนั้นตามข้อกฏหมายจะถือว่าเป็นการดัดแปลงอย่างหนึ่ง ไม่ว่าเราจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงส่วนไหนก็ตาม ตราบใดที่รูปแบบของบ้านนั้นออกมาแตกต่างจากเดิม ก็ถือว่าเป็นการดัดแปลงทั้งสิ้น 

ซึ่งเจ้าของบ้านจะต้องได้รับการอนุญาตก่อนถึงจะเข้าสู่กระบวนการของการรีโนเวทบ้านได้ สำหรับขั้นตอนของการขออนุญาตนั้น เจ้าของบ้านจะต้องทำการยื่นขออนุญาตในการปรับปรุงอาคาร พร้อมกับยื่นแบบแปลนที่ต้องการจะเปลี่ยนให้แก่เจ้าหน้าที่ได้รับทราบ ซึ่งถ้าเพื่อนๆ ใช้บริการรับเหมา ทางบริษัทรับเหมาก็จะมีการให้คำแนะนำรวมไปถึงอำนวยความสะดวกในเรื่องการขออนุญาตนี้ให้กับเราได้

• วางแผนพื้นที่ในการรีโนเวท

ด้วยการถามตัวเราเองก่อนว่า อยากจะดัดแปลงออกมาให้อยู่รูปแบบไหน บางคนอาจจะอยากรีโนเวทแค่บางส่วนของบ้าน หรือบางคนอยากจะรีโนเวทใหม่หมดเลยทั้งหลัง อันนี้ก็ต้องสรุปออกมาให้แน่ชัด เพื่อจะได้เข้าสู่ขั้นตอนของการกำหนดงบประมาณที่จะใช้ในการรีโนเวทกันต่อไป หากเราวางแผนไม่รอบคอบ งบที่ใช้ก็อาจจะงอกเพิ่มในภายหลังได้นะจ๊ะ

• กำหนดงบประมาณ

หลังจากวางแผนออกมาให้เป็นรูปเป็นร่างแล้ว ก็ได้เวลาของการกำหนดงบประมาณที่จะใช้กันต่อ ซึ่งขั้นตอนนี้เพื่อนๆ สามารถทำการวางแผนไว้คร่าวๆ ด้วยตัวเองก่อนก็ได้ว่าเรามีงบประมาณที่สะดวกอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ บวกลบได้ไม่เกินแค่ไหน ควรเผื่อสำรองไว้ที่เท่าไหร่ ซึ่งตรงนี้เราอาจจะทำการวางแผนไว้คร่าวๆ ก่อน แล้วค่อยไปปรึกษาค่าใช้จ่ายจริงๆ กับทางบริษัทรับเหมา หรือสถาปนิกกันอีกทีก็ได้

• หาทีมงานที่มีความเป็นมืออาชีพ

งานจะไม่เดิน ถ้าหากเราไม่มีทีมงานที่มีประสบการณ์และไว้ใจได้ ซึ่งทีมงานที่พูดถึงนี้ก็ได้แก่ผู้ออกแบบหรือสถาปนิกที่จะเข้ามาศึกษาโครงสร้างรวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวบ้านทุกอย่างก่อนที่จะเริ่มต้นวางแผนการออกแบบเพื่อนำไปสู่ขั้นตอนของการรีโนเวทต่อไป ซึ่งการหาทีมงานที่มีประสบการณ์จะทำให้การทำงานทุกอย่างราบรื่น ไร้อุปสรรค เพราะการจะรีโนเวทบ้านทั้งที จำเป็นที่จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญสูงมากๆ หากเราเลือกทีมงานที่มีประสบการณ์ไม่มากพอ อาจจะส่งผลต่อปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงทีมก่อสร้างด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ทีมออกแบบมักจะมีทีมก่อสร้างที่คุ้นเคยเป็นของตัวเองกันอยู่แล้ว ถ้าเป็นกรณีนี้ก็จะหมดห่วง แต่ถ้าเป็นคนละทีมกัน ก็ต้องเลือกดูให้ดีๆ และควร